เทคโนโลยีด้านการเกษตร


อาร์เจนตินามีพื้นที่ใหญ่กว่า ปทท. ประมาณ 5 เท่า เป็นอันดับ 2 ของลาตินอเมริกา รองจากบราซิล และมีพื้นใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 34 ล้านเฮกเตอร์ ล่าสุด รัฐบาลอาร์เจนตินามีแผนการที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกเป็น 48 ล้านเฮกเตอร์ภายในปี ค.ศ. 2020 

การเกษตรภายในอาร์เจนตินาส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีการใช้เครื่องจักรเป็นหลักแทนการใช้กำลังแรงงาน ในขณะที่  

 
 โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย
เมื่อปี 2544 ได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในประเทศได้ส่งผลให้อาร์เจนตินา ซึ่งเป็นผู้ส่งออกเนื้อวัวรายสำคัญของโลกต้องสูญเสียการส่งออกเนื้อและรายได้จำนวนมาก ต่อมา สนง. ตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ (SENASA) เร่งควบคุมการแพร่ระบาดและฉีดวัคซีนป้องกันโรคในวัว จนสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ ทำให้มูลค่าการส่งออกเนื้อวัวปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งภายในปี 2548
 
นอกเหนือจาก SENASA ยังมีบริษัท Laboratorios Richmond ของอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์รายใหญ่ของอาร์เจนตินา มีความเชี่ยวชาญในการผลิตวัคซีนรักษาโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย เมื่อเดือน ส.ค. 2554 บริษัทได้เปิดโรงงานผลิตยาแห่งใหม่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตยาอีก 100 ล้านชุดต่อปี ซึ่งจะช่วยขยายปริมาณการผลิตยาของบริษัทได้เป็นสองเท่าภายใน 5 ปี บริษัทส่งออกผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายทั่วโลก ในไทยมีผู้แทนจำหน่าย คือ บริษัทGreat Eastern Drugs Co. Ltd.

กรมปศุสัตว์ได้แสดงความสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการควบคุมโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยกับ SENASA ซึ่งอยู่ระหว่างการทาบทามในขณะนี้
 
การตัดต่อทางพันธุกรรม (GMO)
อาร์เจนตินามีการปลูกพืช GMOs มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก รองจากสหรัฐและจีน ซึ่งช่วยให้มีความทนทานต่อศัตรูพืชและปริมาณการผลิตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มีการขายพืช GMOs ตามท้องตลาดและส่งออก อาทิ ถั่วเหลือง (สร้างรายได้หลักเข้าประเทศ) ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ และฝ้าย
 
ไทยยังมีความหวั่นวิตกกับการปลูกพืช GMOs ในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค ดังนั้น ฝ่ายไทยจึงมีความสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความร่วมมือในเชิงวิชาการกับฝ่ายอาร์เจนตินาเท่านั้น ล่าสุด ฝ่ายไทยกำลังจะส่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมส่งเสริมการเกษตรไปอบรมที่อาร์เจนตินาในหัวข้อ Training on Evaluation of Bio-safety and Food Safety for GMO ในช่วงเดือน ต.ค. 2554
 
อาร์เจนตินาเป็นผู้ส่งออกกากพืชน้ำมันเป็นอันดับ 1 และถั่วเหลืองเป็นอันดับ 2 ของโลก ร้อยละ 70 ของสินค้าที่ไทยนำเข้าจากอาร์เจนตินาทั้งหมด คือ กากพืชน้ำมันและถั่วเหลือง
 
การใช้เทคโนโลยีอวกาศกับภาคการเกษตร
นับตั้งแต่ปี 2533 อาร์เจนตินามีการพัฒนาโครงการผลิตดาวเทียมยิงสู่อวกาศภายใต้กำกับดูแลของ NationalCommission of Space Activities-CONAE และบริษัท INVAP โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การ NASA ของสหรัฐฯ และจากนานาประเทศ ตั้งแต่ปี 2545 อาร์เจนตินาเริ่มใช้ประโยชน์จากระบบ remote sensing ของดาวเทียมในการสำรวจความชื้นของดินเพื่อนำไปพยากรณ์ผลผลิตและการเก็บเกี่ยวทางการเกษตร ตลอดจนการบริหารจัดการกับภัยพิบัติ อาทิ ไฟป่า