ประเทศปารากวัย

เศรษฐกิจของประเทศปารากวัย

 

ภาพรวม

            ปารากวัยเป็นประเทศเล็ก ๆ และมีระบบเศรษฐกิจแบบเสรี  ซึ่งอาศัยภาคเกษตรกรรมและการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะถั่วเหลืองและเนื้อวัวซึ่งเป็นสินค้าส่งออกเกือบ 40% ของปริมาณการส่งออกรวมในปี ค.ศ. 2013

            อุตสาหกรรมการเกษตรเป็นภาคส่วนหลักของเศรษฐกิจในปารากวัย ทว่าความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรที่ดินส่งผลให้ประเทศมีแรงงานทำไร่ไถนาเป็นจำนวนมาก ประชากรส่วนใหญ่ไม่มีบทบาทในเศรษฐกิจหลัก แต่อยู่ในฐานะเกษตรกรในระดับยังชีพได้เท่านั้น  ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของที่นี่เฟื่องฟูขึ้นจากการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะถั่วเหลือง และได้เห็นความเจริญทางเศรษฐกิจมหภาคเป็นอย่างมาก อันนำมาซึ่งสภาพการเงินการคลังที่แข็งแกร่งและกำลังจะเปลี่ยนผ่านการปฏิรูปสังคมครั้งใหญ่ โดยส่วนที่น่าสนใจเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมาคือการเข้ารับบริการดูแลสุขภาพและการศึกษาขั้นพื้นฐานฟรี ตลอดจนการขยายตัวของโครงการโอนเงินสดแบบมีเงื่อนไข ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรกลุ่มที่เปราะบางที่สุดของประเทศ

            อัตราเงินเฟ้อของปารากวัยลดต่ำลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและค่าเงินเริ่มแข็งค่าขึ้นอย่างช้า ๆ อย่างไรก็ดี อัตราการว่างงานในเมืองและอัตราการจ้างงานต่ำยังคงเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกในประวัติศาสตร์ของประเทศ ปารากวัยนั้นมีข้อได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจเนื่องจากมีประชากรอายุน้อยและทรัพยากรไฟฟ้าพลังน้ำอันมหาศาล แต่มีแหล่งสินแร่น้อย รวมทั้งการขาดเสถียรภาพทางการเมืองยังส่งผลให้ข้อได้เปรียบเหล่านี้ด้อยลง รัฐบาลของประเทศจึงเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ

            ธุรกิจในปารากวัยส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและเป็นรายย่อย รวมไปถึงงานในระดับยังชีพ อาทิ พ่อค้าแม่ขายหาบเร่แผงลอย เป็นต้น ข้อมูลในปี ค.ศ. 2014 เผยว่ามีแรงงานชาวปารากวัยเพียง 4% ที่ทำงานในบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 50 คน

            ปารากวัยต้องเผชิญกับสภาวะผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ลดต่ำลงในปี ค.ศ. 2012 โดยแตะระดับเกือบ 1.2% อันเนื่องมาจากภาวะภัยแล้งอย่างหนักในช่วงไตรมาสแรกของปี ตลอดจนการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยช่วงปลายปี ทั้งนี้ เศรษฐกิจกลับฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 2013 โดย GDP ขยายตัวถึง 13.5% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในกลุ่มละตินอเมริกา พร้อมคาดการณ์กันว่าจะสามารถเติบโตได้ถึง 4.5% ในปี ค.ศ. 2015 นอกจากนี้ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ราว 7.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2014 และอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศไม่มีความผันผวนในช่วงที่ผ่านมา

 

ภาคเกษตรกรรม

            อุตสาหกรรมเกษตรมีความสำคัญคิดเป็นสัดส่วน 20% ของ GDP ต่อปีของปารากวัย ถือเป็นแหล่งรายได้ด้านการส่งออกทั้งหมดและเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมากที่สุดและเสมอต้นเสมอปลายที่สุดของปารากวัย โดยคิดเป็นสัดส่วนประชากรวัยทำงานถึง 45% นอกเหนือจากแรงงานในภาคการเกษตรอย่างเป็นทางการแล้ว ยังมีครอบครัวอีกนับพันที่สามารถยังชีพได้จากอาชีพทำไร่ไถนา

            ปารากวัยสามารถผลิตอาหารขั้นพื้นฐานได้เพียงพอเพื่อเลี้ยงประชากรในประเทศ โดยผลผลิตหลักสำหรับการบริโภคในท้องถิ่น ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง และข้าวสาลี ราคาธัญพืชในตลาดโลกที่ถีบตัวสูงขึ้นในปี ค.ศ. 2007/2008 เป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นอุตสาหกรรมการเกษตร ส่งผลให้การเพาะปลูกข้าวและข้าวสาลีขยายตัวขึ้น แต่ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือการผลิตถั่วเหลือง ในปี ค.ศ. 2004 ปารากวัยมีพื้นที่เพาะปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรม (GM) โดยเฉพาะราว 1.6 ล้านเฮกตาร์ มูลค่าการส่งออกถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นจาก 1.25 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2007 เป็น 2.54 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2008

            พื้นที่ราบภาคตะวันออกของประเทศและภูมิภาคชาโกนั้นเป็นพื้นที่หลักในการทำฟาร์มโคนมและปศุสัตว์ ทั้งนี้ การส่งออกเนื้อวัวซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากถั่วเหลือง ถือว่ามีบทบาทที่สำคัญมากต่อภาคการเกษตรของประเทศ นอกจากนี้ ปารากวัยยังสามารถผลิตเนื้อวัว เนื้อหมู และผลิตภัณฑ์จากนมได้เพียงพอป้อนความต้องการภายในประเทศ การแพร่ระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในปี ค.ศ. 2002 และ ค.ศ. 2003 ส่งผลให้หลายประเทศสั่งห้ามเนื้อวัวจากปารากวัย แต่ในปี ค.ศ. 2004 การผลิตและส่งออกเนื้อสัตว์กลับฟื้นตัว หลังจากที่ราคาเนื้อสัตว์ในตลาดต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นและตลาดสำคัญต่างๆ เริ่มฟื้นตัว  อาทิ ประเทศชิลีและรัสเซีย ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของปารากวัยเพิ่มขึ้นเป็น 143 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2004 แตะระดับ 353 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2007 และ 597 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2008 ในปัจจุบันปารากวัยมีจำนวนปศุสัตว์ทั่วประเทศราว 9-10 ล้านตัว

 

อุตสาหกรรม

            หากกล่าวถึงทวีปอเมริกาใต้ ถือได้ว่าปารากวัยเป็นประเทศที่มีความเจริญทางอุตสาหกรรมน้อยที่สุด การผลิตโดยทั่วไปยังมีขนาดเล็กและเน้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นหลัก รวมทั้งน้ำมันถั่วเหลืองสกัด แป้ง น้ำตาล เนื้อสัตว์กระป๋อง สิ่งทอ เครื่องหนัง แอลกอฮอล์ เบียร์ และบุหรี่ ต่อมาในช่วงปลายทศวรรษ 1970 คาบเกี่ยวต้นทศวรรษ 1980 อุตสาหกรรมก่อสร้างและซีเมนต์เริ่มเฟื่องฟูขึ้นสืบเนื่องมาจากโครงการก่อสร้างเขื่อนอิตาปูและโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำอีกหลายโครงการ มีการขายทอดตลาดโรงถลุงเหล็กขนาดเล็กที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 และโรงงานที่ผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) จากอ้อยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ในโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล

 

การเงิน

            ธนาคารหลักของประเทศคือธนาคารกลางแห่งประเทศปารากวัย (Central Bank of Paraguay) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการเงินทั้งหมดของประเทศ และธนาคารการพัฒนาแห่งชาติ (National Development Bank) ที่มีหน้าที่ออกสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการภาคการเกษตรและผู้ผลิต นอกจากนี้ยังมีธนาคารพาณิชย์ของประเทศกลุ่มละตินอเมริกา ยุโรป และสหรัฐอเมริกามาเปิดสาขาที่นี่ มีบริการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศที่ธนาคารและบริษัทรับแลกเงิน ในปี ค.ศ. 1992 รัฐบาลได้อนุมัติกฎหมายที่ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ หลังจากเกิดการล่มสลายของธนาคารหลายครั้งช่วงปี ค.ศ. 1995-2002 ปารากวัยได้หันมาใช้เงินสกุลดอลลาร์ในการทำธุรกรรมทางการเงิน แต่จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลงและการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคที่ดีขึ้นส่งผลให้มีการคงเงินฝากในระบบธนาคารมากกว่า ใน ตามสกุลเงินของประเทศในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ สกุลเงินกัวรานีของปารากวัยถือว่าค่อนข้างมีเสถียรภาพตามมาตรฐานแถบละตินอเมริกา

 

การค้า

            ปารากวัยจัดว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกถั่วเหลืองอันดับต้นๆ ของโลก นอกจากถั่วเหลืองซึ่งเป็นสินค้าหลักแล้ว ยังมีการส่งออกสินค้าที่สำคัญประเภทอื่น อาทิ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี ข้าวโพด และไม้แปรรูปไปยังประเทศอุรุกวัย บราซิล อาร์เจนตินา เนเธอร์แลนด์ อิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์เป็นหลัก นอกจากนี้ ยังส่งออกเครื่องจักร ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนรถยนต์และรถประจำทางไปยังประเทศบราซิล อาร์เจนตินา จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นเป็นหลัก ข้อมูลสถิติการค้าของประเทศได้รับการประเมินต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการลักลอบนำส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างกว้างขวางไปยังประเทศบราซิลและอาร์เจนตินา อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา รัฐบาลบราซิลได้ออกกฎควบคุมการซื้อสินค้าที่ผลิตในปารากวัยที่เข้มงวดขึ้น ทำให้การลักลอบการค้าลดลง ทั้งนี้ ปารากวัยเป็นสมาชิกกลุ่ม MERCOSUR หรือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ก่อตั้งมาจากสนธิสัญญา Treaty of Asunción ในปี ค.ศ. 1991

 

การท่องเที่ยวและบริการ

            อุตสาหกรรมการบริการมีความสำคัญคิดเป็นสัดส่วน ใน ของ GDP และสร้างงานถึง ใน ของแรงงานที่มีการบันทึกในระบบ ปารากวัยมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขนาดเล็ก การขยายตัวด้านการท่องเที่ยวนั้นเกิดจากการติดต่อธุรกิจมากกว่าการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ปารากวัยถือเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าปลอดภาษีที่สามารถนำข้ามพรมแดนได้มานานหลายปี หลังจากที่รัฐบาลบราซิลและอาร์เจนตินาได้เพิ่มมาตรการที่เข้มงวดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการซื้อขายสินค้าผิดกฎหมาย ปรากฏว่ามีผู้บริโภคจำนวนมากที่หลั่งไหลเข้ามาในปารากวัยเพื่อซื้อสินค้าที่สามารถนำข้ามพรมแดนได้