อัตราแลกเปลี่ยนเงินเปโซ

     อาร์เจนตินาใช้สกุลเงินเปโซ (Peso) มีสัญลักษณ์ $ เช่นเดียวกับสัญลักษณ์ที่ใช้กับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐหรือเงินสกุลดอลลาร์อื่น ๆ ในหลายประเทศ ดังนั้น ชาวต่างชาติจึงต้องทำความเข้าใจเมื่อเห็นสัญลักษณ์นี้ในอาร์เจนตินาว่าหมายถึงการบ่งบอกราคาในสกุลเงินเปโซไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐอย่างที่คุ้นเคย

         อาร์เจนตินามีมาตรการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราโดยไม่ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งมาตรการนี้เป็นไปตามแนวนโยบายเศรษฐกิจแบบปกป้องตลาดภายในประเทศ (protectionism)

         ระหว่างปี 2543 - 2544 รัฐบาลพยายามรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่เมื่อประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงที่สุดเมื่อปี 2544 จึงต้องออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาซึ่งรวมถึงการลดค่าเงินเปโซด้วย

         ในช่วงปี 2545 - 2551 อัตราแลกเปลี่ยนทางการ (official rate) อยู่ที่ประมาณ เปโซต่อ ดอลลาร์สหรัฐ และในช่วงปี 2552 - 2554 อยู่ที่ประมาณ เปโซต่อ ดอลลาร์สหรัฐ

         ในปี 2554 รัฐบาลได้ออกมาตรการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินสกุลเปโซกับดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเงินสกุลเปโซ โดยให้การซื้อและถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐทำได้ยากและการแลกเงินอย่างถูกต้องตามกฎหมายจะต้องกระทำผ่านร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนทางการเท่านั้น มาตรการที่เข้มงวดดังกล่าวทำให้ธุรกิจรับแลกเงินผิดกฎหมายได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากทำให้สามารถแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐได้ง่ายขึ้นและได้อัตราที่สูงกว่าอัตราทางการ จนต่อมาธุรกิจดังกล่าวได้แพร่หลายและกลายเป็นที่ยอมรับอย่างเปิดเผยมากขึ้นจนเรียกกันว่า blue market แทนที่จะเรียกว่า black market เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เรียกได้ว่ากึ่งเปิดเผย และมีการประกาศอัตรา blue dollar ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นควบคู่ไปกับอัตราทางการ

           ความแพร่หลายของตลาดมืดมีส่วนดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้นและนำเงินดอลลาร์สหรัฐเข้ามาในประเทศมากขึ้นเพราะสามารถนำมาแลกในตลาดมืดได้ในอัตราที่สูง ในย่านท่องเที่ยวจะสามารถพบเห็นร้านรับแลกเงินประเภทนี้ได้ทั่วไปโดยบางแห่งจะมีพนักงานออกมาป่าวประกาศชักชวนให้ใช้บริการว่า “cambio” ซึ่งแปลว่า “change” หรือรับแลกเงิน และในโรงแรมและร้านอาหารบางแห่งยังมีบริการเรียกร้านรับแลกเงินประเภทนี้มาให้บริการโดยเรียกว่า “arbolitos” แปลตามศัพท์ว่า “little trees” นอกจากนี้ ร้านค้าและร้านอาหารบางแห่งยังให้ส่วนลดหากชำระด้วยเงินสด (โดยทั่วไปจะให้ส่วนลดประมาณร้อยละ 10) หรือชำระด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ (ซึ่งอาจจะให้ส่วนลดมากกว่าร้อยละ 10) ในขณะที่ร้านค้าอาจบวกราคาเพิ่มขึ้นหากชำระด้วยบัตรเครดิตจากต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจที่ผันผวน และความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ในเดือนธันวาคม 2556 ค่าเงินเปโซในอัตราทางการอ่อนลงมาอยู่ที่ 6.5 เปโซต่อ ดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อเดือนมกราคม 2557 ค่าเงินเปโซได้อ่อนลงอย่างมากเป็นประวัติการณ์จนมาอยู่ที่ เปโซต่อ ดอลลาร์สหรัฐในอัตราแลกเปลี่ยนทางการและ 13 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืด (blue rate) ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินเมื่อปี 2545

ในช่วงต้นปี 2557 รัฐบาลได้ออกมาตรการทางการเงินเพื่อรับมือกับค่าเงินเปโซที่อ่อนค่าลงอย่างมาก โดยผ่อนปรนให้การซื้อและถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อการออมทำได้ง่ายขึ้นเพื่อลดความต้องการดอลลาร์สหรัฐจากตลาดมืดและเพื่อให้ความแตกต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนทางการกับอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืดขยับเข้ามาใกล้กันมากขึ้น และธนาคารกลางได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดผู้ออมเงินหรือนักลงทุนให้หันมาลงทุนในเงินเปโซแทนที่จะลงทุนในเงินดอลลาร์เพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อและการระดมถอนเงินดอลลาร์ออกไปเก็งกำไรจากค่าเงินเปโซที่ลดลง